วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Subject 10 : Professional ethics of change. (English Version)

Subject 10
Professional ethics of change.


                                                       



     Cycle of changes in circumstances of social and professional situation, the architecture can occur any time that the development of social, cultural, technological progress and the impact of other factors in many countries, social level. Many of these causes would make the terms relevant to the work of professional architectural review should be modified to focus mainly on the context of change over time. As shown in the past, terms associated with unethical actions of the architects and the profession has evolved to change continuously to the present. For example, to cancel a regulation which prohibits contractors architects etc.

     Ethics Committee in the current session (2550-53) decided to amend the Articles of Federation with the ethics of professional architects, architecture, BE 2545. Through the work of the subcommittee to consider rules and regulations relating to the consideration and decision of the committee members by reason of such changes, and then combined with the following main reasons.

1. Some of the existing regulations there is a problem in diagnosis because there is no clear enough. Due to the following reasons.

     1) The reference that has not or has not yet promulgated or a reference that can not be measured quantitatively clearly as "professional standards", the standard of professional services " "intention to study and professional practice " and " professional practice at full capacity, etc.
     2) the total cases of unethical acts in Article 2 cases using the same "and" link Therefore, if a professional offense to any one. Committee may consider and decide that no crime because the offender only one case of the missing element that the offense was.

2. Some of the regulations is not appropriate and consistent with the current situation, especially the issue of ban advertising of professional architecture entirely in all cases. The challenges are vulnerable to random practice of professional practice, the decision of the Board of Directors and an obstacle to communicate useful information to receive professional services to employers, society and the public.

3. Cancel the share issue and the regulations issued by the Division of revisions to the item under the same sort of guilty by reason of any of ethics or any of that. Would affect both linked to the public, the profession, to employers and to all professional participants in all aspects of direct and indirect, are already in the end.

     In addition. The overall approach of trial and guilty of ethics committee members over the decision by the discretion and experience of professional practice according to individual features as they appear in legislation. The ethics committee in the past, present and past it are the experts who trusted in the profession all together. Consequently, the original regulations, while some are content clearly too much detail may be an obstacle to the consideration of the Committee itself to interpretation and decision on only the letters that appear in the rules fairly and build professional practice itself would not be able to take any action because it was quite specific prohibitions and many more then that for any network, are also vulnerable to ignite the offense, or lose all. When in fact, the accused has no intention or offense intended in any way.

     Therefore, to improve regulations, this new. Sub-Committee and is of the view that the content rules are revised set of principles is just as guilty. The Committee will have the opportunity to use discretion to decide taking into account the cause, intent and effect of the alleged offender's even more and a result the likelihood of the complaint and the offender's risk of random professionals will likely decrease.

     The current draft of new ethics rules is currently being presented to the joint membership of professional associations and four branches (For details, interested parties should draft new regulations at issue. www.act.or.th) for comments and suggestions to improve the last general meeting prior to import. Architect Council consideration and approval in the near term, and after this subcommittee will revise the relevant regulations in the following.

     The architectural profession should pay attention, and attention to study the details of new draft regulations, this thorough and offer comments or suggestions for improvement on their own responsibility, if possible for the benefit of themselves and the profession overall and to track the announcement of new regulations and enforcement to understand the details of the contents adjusted to the current data. Through various media, public relations of the Federation of Architects closely and continuously and are cautioned not to their offense under new regulations after the contents of strictly enforcing the following.



     (Thank you committee members current session (2550-53), please provide feedback and information to improve the content of this comes at the occasion include.

       1) Mom Luang Pummarirat   Chongcharoensuk      Chairman of the Board of Directors
       2) Mr. Supojana   Kowitwanich                             Committee
       3) Com.Air Chief Mom Luang Prakitti   Kasemsan   Committee


Citations.
1. Tanit  Kitti-Ampon, Ratchot  Chomphunich..20 questions about the ethics Architects, the Association of Siamese Architects under Royal Patronage, Bangkok, 2549.
2. Architect Act, BE 2543.
3. Council regulation on the ethics of architects, Architectural Act 2545, the council architect
4. Architect Council regulation on the license suspension and revocation of professional Architectural Control Act 2544, the Federation of Architects.
5. Mom Luang Pummarirat  Chongcharoensuk, Chairman of the committee members interviewed Act 2550-53, on January 6, 2552.       
5) Mr. Supojana  Kowitwanich, Ethics Committee interviewed architects Council Act 2550-53, the same day.
6) Com.Air Chief Mom Luang Prakitti Kasemsan, Ethics Committee interviewed architects Council Act 2550-53, the same day.     

เรื่องที่ 10 : จรรยาบรรณวิชาชีพกับการเปลี่ยนแปลง (Thailand Version)

เรื่องที่ 10   
จรรยาบรรณวิชาชีพกับการเปลี่ยนแปลง 


                                                         


วัฎจักรแห่งการเปลี่ยนแปลงของสภาพการณ์ทางสังคมและสถานการณ์ทางวิชาชีพสถาปัตยกรรมนับได้ว่าเกิดขึ้นตลอดเวลาตามการพัฒนาของคน สังคม วัฒนธรรม ความเจริญทางเทคโนโลยี และผลกระทบจากปัจจัยอื่นๆ ในระดับสังคมประเทศอีกมากมาย หลายสาเหตุเหล่านี้ย่อมทำให้ข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมสมควรมีการทบทวนแก้ไขให้เท่าทันกับบริบทแห่งความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังปรากฎในอดีตที่ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดจรรยาบรรณของสถาปนิกและผู้ประกอบวิชาชีพได้มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น การยกเลิกข้อบังคับที่ห้ามสถาปนิกเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น

คณะกรรมการจรรยาบรรณในวาระปัจจุบัน (2550-53) จึงได้ดำเนินการแก้ไขข้อบังคับสภาสถาปนิกว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.. 2545 ผ่านการทำงานของคณะอนุกรรมการพิจารณาข้อบังคับและระเบียบที่เกี่ยวกับการพิจารณาและวินิจฉัยของคณะกรรมการจรรยาบรรณ ด้วยเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแล้วผนวกกับเหตุผลหลักดังต่อไปนี้

1.    ข้อบังคับเดิมบางข้อมีปัญหาในการวินิจฉัย เนื่องจากไม่มีความชัดเจนเพียงพอ อันเนื่องมาจากเหตุผลดังต่อไปนี้

1)   การอ้างอิงมาตรฐานที่ยังไม่มีหรือยังมิได้ประกาศใช้ หรือมีการอ้างอิงมาตรฐานที่ไม่สามารถตรวจวัดเชิงปริมาณได้อย่างชัดเจน เช่น “มาตรฐานการประกอบวิชาชีพ” “ค่าบริการวิชาชีพมาตรฐาน” “ความตั้งใจใจการปฏิบัติวิชาชีพ” และ “การปฏิบัติวิชาชีพอย่างเต็มความสามารถ” เป็นต้น

       การรวมกรณีการกระทำผิดจรรยาบรรณ 2 กรณีไว้ในข้อเดียวกันโดยใช้ “และ” เป็นตัวเชื่อม ดังนั้นหากผู้ประกอบวิชาชีพกระทำผิดเพียงกรณีใดกรณีหนึ่ง คณะกรรมการฯ อาจพิจารณาวินิจฉัยได้ว่า ไม่มีความผิดอันเนื่องจากการกระทำผิดเพียงกรณีเดียวนับว่าไม่ครบองค์ประกอบการกระทำความผิดได้
 
2.    ข้อบังคับบางข้อไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการห้ามโฆษณาประชาสัมพันธ์ของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมอย่างสิ้นเชิงในทุกกรณี ซึ่งเป็นปัญหาสุ่มเสี่ยงต่อการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ การวินิจฉัยของคณะกรรมการ และเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการรับบริการทางวิชาชีพต่อผู้ว่าจ้าง สังคมและสาธารณะได้

3.    ยกเลิกการแบ่งข้อบังคับออกเป็นหมวดและประเด็น โดยปรับแก้ไขให้เป็นรายข้อเรียงตามกันมา ด้วยเหตุผลว่า การกระทำความผิดจรรยาบรรณในข้อใดข้อหนึ่งนั้น หรือกรณีใดกรณีหนึ่ง ย่อมมีผลกระทบเชื่อมโยงกันทั้งต่อสาธารณะ ต่อวิชาชีพ ต่อผู้ว่าจ้าง และต่อผู้ร่วมวิชาชีพทุกด้านทุกประเด็นทั้งในทางตรงและทางอ้อมอยู่แล้วในที่สุด 

นอกจากนี้แล้ว ในภาพรวมของแนวทางการพิจารณาคดีการกระทำผิดจรรยาบรรณของคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ผ่านมา เป็นการพิจารณาวินิจฉัยโดยใช้ดุลพินิจและประสบการณ์การปฏิบัติวิชาชีพเฉพาะบุคคลตามคุณสมบัติที่ปรากฎในข้อกฎหมาย ทั้งนี้คณะกรรมการจรรยาบรรณในอดีตที่ผ่านมาจนปัจจุบันที่ผ่านมาก็ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับความเชื่อถือในวงการวิชาชีพกันทุกท่าน ดังนั้น เนื้อหาข้อบังคับเดิมบางส่วนที่มีเนื้อหารายละเอียดชัดเจนมากจนเกินไป อาจเป็นอุปสรรคต่อทั้งการพิจารณาของคณะกรรมการเองที่ต้องตีความและวินิจฉัยชี้ขาดได้เพียงตามตัวหนังสือที่ปรากฎในข้อบังคับอย่างตรงตัว และตัวผู้ปฏิบัติวิชาชีพเองย่อมไม่สามารถกระทำการใดๆ ได้เท่าใดนักเลย เนื่องจากมีข้อห้ามที่จำเพาะเจาะจงอย่างมากมายจนดูแล้วเห็นว่าการกระทำใดๆ ก็ล้วนแล้วแต่เข้าข่ายหรือสุมเสี่ยงต่อการกระทำความผิดเสียทั้งหมด ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วผู้ถูกกล่าวหามิได้มีความตั้งใจหรือเจตนาจะกระทำความผิดแต่อย่างใด

        ดังนั้น ในการปรับปรุงข้อบังคับใหม่ครั้งนี้ คณะกรรมการและอนุกรรมการจึงเห็นว่าในเนื้อหาข้อบังคับจะมีการปรับแก้ให้กำหนดเป็นเพียงหลักการแห่งการกระทำความผิดไว้ ซึ่งจะทำให้คณะกรรมการได้มีโอกาสใช้ดุลพินิจพิจารณา วินิจฉัยโดยคำนึงสาเหตุ เจตนา และผลแห่งการกระทำความผิดของผู้ถูกกล่าวหาได้มากยิ่งขึ้น และส่งผลถึงโอกาสการถูกร้องเรียนและความสุ่มเสี่ยงในการกระทำความผิดของผู้ประกอบวิชาชีพจะมีแนวโน้มลดลงได้ 
ปัจจุบัน ร่างข้อบังคับจรรยาบรรณฉบับใหม่นี้ อยู่ระหว่างการนำเสนอเพื่อพิจารณาร่วมกันในหมู่สมาชิกจากสมาคมวิชาชีพทั้ง 4 สาขา (ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดร่างข้อบังคับฉบับใหม่นี้ได้ที่ www.act.or.th) เพื่อนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไขครั้งสุดท้ายก่อนนำเข้าที่ประชุมใหญ่ สภาสถาปนิกพิจารณาให้ความเห็นชอบในระยะเวลาอันใกล้นี้ และหลังจากนี้คณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องจะได้พิจารณาปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป 

ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมจึงควรให้ความสนใจและใส่ใจศึกษารายละเอียดเนื้อหาร่างข้อบังคับฉบับใหม่นี้ให้ถี่ถ้วน และนำเสนอข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของตนเองเพื่อการปรับปรุงต่อผู้รับผิดชอบหากกระทำได้ เพื่อประโยชน์ของตนเองและวิชาชีพในภาพรวม รวมทั้งต้องติดตามข้อมูลการประกาศบังคับใช้ข้อบังคับฉบับใหม่และทำความเข้าใจเนื้อหารายละเอียดที่มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลปัจจุบัน ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ของสภาสถาปนิกอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง รวมทั้งพึงระมัดระวังมิให้ตนเองกระทำความผิดตามเนื้อหาข้อบังคับใหม่หลังการบังคับใช้โดยเคร่งครัดต่อไป


(ขอขอบพระคุณคณะกรรมการจรรยาบรรณ วาระปัจจุบัน (2550-53) กรุณาให้ข้อเสนอแนะ และข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงเนื้อหาครั้งนี้มา ณ โอกาสนี้ อันประกอบด้วย
1)    หม่อมหลวงภุมรีรัตน์ จงเจริญสุข                                ประธานคณะกรรมการ
2)    คุณสุพจน์ โกวิทวานิชย์                                              กรรมการ
3)    นาวาอากาศเอก หม่อมหลวงประกิตติ เกษมสันต์       กรรมการ


รายการอ้างอิง

1.   ฐนิธ กิตติอำพน, รัชด ชมภูนิช. 20 คำถามกับจรรยาบรรณสถาปนิก. สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์, กรุงเทพฯ, 2549.
2.   พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.. 2543
3.   ข้อบังคับสภาสถาปนิก ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.. 2545, สภาสถาปนิก. 
4.   ข้อบังคับสภาสถาปนิก ว่าด้วยการพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาตของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.. 2544, สภาสถาปนิก. 
5.   สัมภาษณ์ หม่อมหลวงภุมรีรัตน์ จงเจริญสุข ประธานคณะกรรมการจรรยาบรรณ พ.. 2550-53, วันที่ 6 มกราคม 2552.                
6.   สัมภาษณ์ คุณสุพจน์ โกวิทวานิชย์ กรรมการจรรยาบรรณ สภาสถาปนิก พ.. 2550-53, วันเดียวกัน.
7.   สัมภาษณ์ นาวาอากาศเอก หม่อมหลวงประกิตติ เกษมสันต์ กรรมการจรรยาบรรณ สภาสถาปนิก พ.ศ. 2550-53, วันเดียวกัน.          

เรื่องที่ 9 : 10 กรณีศึกษา : ปัญหาจรรยาบรรณควรรู้ (Thialand Version)

เรื่องที่ 9 
10 กรณีศึกษา : ปัญหาจรรยาบรรณควรรู้


                                                          


 
       ในระหว่างการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมทั้งหลายอาจมีข้อคำถามหรือข้อข้องใจหลายข้อเกี่ยวกับการปฏิบัติวิชาชีพในกรณีต่างๆ ว่าจะเป็นการผิดจรรยาบรรณหรือไม่อย่างไร ดังนั้นเพื่อเป็นแนวทางประพฤติที่ถูกต้องของผู้ประกอบวิชาชีพ และลดความเสี่ยงต่อการกระทำผิดจรรยาบรรณ จึงได้รวบรวมกรณีศึกษาจากคำร้องหรือข้อกล่าวหาที่เกิดขึ้นจริงเป็นส่วนใหญ่มาอธิบายประกอบเนื้อหาตามข้อบังคับสภาสถาปนิกว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.. 2545  ซึ่งใช้เป็นบรรทัดฐานหลักในการตรวจสอบและพิจารณาการกระทำความผิดจรรยาบรรณเพื่ออ้างอิงไว้ประกอบการศึกษา

กรณีศึกษา 10 เรื่องนี้ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องราวที่ดูคุ้นเคยและใกล้ตัวเราท่านทั้งสิ้น และตัวอย่างหลายๆ ข้อก็มีแนวทางวินิจฉัยว่าเป็นความผิดจรรยาบรรณโดยที่ผู้ประกอบวิชาชีพคาดไม่ถึงก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามขอเน้นย้ำว่า ข้อวินิจฉัยเหล่านี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ให้สัมภาษณ์เท่านั้น (พลเรือเอกฐนิธ กิตติอำพน ผู้ให้ข้อมูลในฐานะรองประธานคณะกรรมการจรรยาบรรณ สภาสถาปนิก. 2547-50)  ดังนั้นแนวทางวินิจฉัยหรือคำตอบเหล่านี้จึงไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการพิจารณาคดีตามระเบียบข้อบังคับแต่อย่างใด แต่สามารถใช้เป็นแนวทางตรวจสอบความถูกผิดเบื้องต้นในการปฏิบัติ และเพื่อประกอบการเตรียมเอกสาร หลักฐานและข้อแก้ต่างที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองได้ อันเนื่องมาจากเหตุผลที่ว่าในการพิจารณาคดีความ ตลอดจนการสรุปผลวินิจฉัยของคณะกรรมการจรรยาบรรณ ยังมีปัจจัยแวดล้อมนอกเหนือต่างๆ รวมทั้งหลักฐานเอกสารและพยานบุคคลที่ใช้ประกอบการพิจารณาคดีอีกด้วย

10 กรณีศึกษาควรรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพสถาปัตยกรรม  
1. สถาปนิกให้สัมภาษณ์แนะนำวัสดุก่อสร้าง ผิดจรรยาบรรณหรือไม่ ?
       การที่สถาปนิกหรือผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมใดให้คำสัมภาษณ์กับสินค้าวัสดุก่อสร้างผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่ง โดยมีเนื้อหาบ่งชี้ถึงข้อดีข้อเสียหรือเสนอแนะการใช้งานหรือส่งเสริมให้สินค้านั้นดีกว่าผลิตภัณฑ์อื่นในท้องตลาด และผู้สัมภาษณ์หรือเจ้าของผลิตภัณฑ์นำบทความนั้นไปลงเผยแพร่ในเอกสาร หนังสือหรือสื่ออื่นใดก็ดีโดยมีชื่อผลิตภัณฑ์นั้นอยู่ด้วย ไม่ว่าจะได้รับค่าตอบแทนหรือผลประโยชน์อื่นใดหรือไม่ก็ตาม การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายความผิดตามข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสถาปัตยกรรม ใน หมวด 2 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ  ข้อ12  ที่ว่า  “ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่โฆษณา ใช้ จ้าง วาน หรือยินยอมให้ผู้อื่นเอาตน หรือชื่อของตน ไปโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาชีพสถาปัตยกรรมทั้งปวง ทั้งพึงระมัดระวังมิให้การประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมของตนถูกเผยกแพร่ออกไปในสื่อต่างๆ ในทำนองโฆษณาความรู้ความสามารถของตนเองหรือของผู้อื่น” เนื่องจากกรณีดังกล่าวบริษัทวัสดุก่อสร้างได้นำชื่อ คุณวุฒิหรือสถานภาพของสถาปนิกใช้โฆษณาหรือรับรองคุณสมบัติของวัสดุทางการก่อสร้างซึ่งถือเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อเจ้าของสินค้าโดยเจ้าตัวมิได้มีข้อโต้แย้งหรือคัดค้านใดๆ จึงเข้าใจได้ว่าสถาปนิกคนดังกล่าวยินยอมให้เกิดเหตุการณ์นี้เผยแพร่ไปในสื่อต่างๆ จึงนับว่าเป็นการผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพอย่างแน่นอนแม้ว่าสถาปนิกดังกล่าวจะมีเจตนาหรือไม่ก็ตาม 

        อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีรูปแบบการประชาสัมพันธ์อีกวิธีหนึ่งที่แพร่หลายและนิยมกันอย่างยิ่งคือ การให้สัมภาษณ์ของสถาปนิกหรือผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมแบบ Advertorial   รูปแบบของการสัมภาษณ์แบบนี้จะหลีกเลี่ยงระดับความเข้มข้นของข่าวสารที่ชี้นำหรือเอื้อประโยชน์ต่อผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งเพื่อมิให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเป็นการโฆษณาอย่างชัดเจน แต่เนื้อหาจะมุ่งเน้นให้ดูเหมือนบทความทางวิชาการที่ให้ความรู้หรือข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในภาพรวมเป็นหลัก แต่จะมีข้อความหรือเนื้อหาทิ้งท้ายด้วยตัวอย่างวัสดุของบริษัท หรือแสดงตราผลิตภัณฑ์หรือตราสินค้า กรณีดังกล่าวนี้ถ้าเป็นการสัมภาษณ์ให้ความรู้ทั่วไปที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติวิชาชีพหรือเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะไม่ถือว่าเข้าข่ายความผิดจรรยาบรรณ แต่ผู้ประกอบวิชาชีพที่ให้สัมภาษณ์ควรระมัดระวังไม่ให้เนื้อหาหรือมีข้อความชี้นำให้เกิดผลประโยชน์กับผลิตภัณฑ์ใดๆ ทั้งสิ้น ตลอดจนควรขอตรวจสอบเนื้อหาหรือ Artwork ต้นฉบับให้ละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อนตีพิมพ์ และสิ่งสำคัญคือไม่ควรให้เนื้อหาบทสัมภาษณ์ดังกล่าวมีตราสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใดๆ ปรากฏอยู่ซึ่งอาจตีความได้ว่าเป็นการชี้นำที่เป็นผลดีต่อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้

2. สถาปนิกจัดรายการโทรทัศน์หรือวิทยุ ทำการประชาสัมพันธ์ผู้สนับสนุนรายการผิดจรรยาบรรณหรือไม่ ?
          การจัดรายการโทรทัศน์และทางวิทยุหรือสื่ออื่นๆ สถาปนิกหรือผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมใด ย่อมมีสิทธิ์ที่จะเป็นพิธีกรหรือผู้จัดรายการได้ ดังนั้นการประชาสัมพันธ์หรือโฆษณาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ผู้สนับสนุนย่อมสามารถกระทำได้ในฐานะพิธีกร เมื่อสถาปนิกประชาสัมพันธ์สินค้าอุปโภคบริโภคหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่ไม่เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้าง ย่อมไม่ถือว่าผิดจรรยาบรรณอย่างแน่นอน แต่ในกรณีผู้สนับสนุนเป็นผลิตภัณฑ์หรือวัสดุก่อสร้างนั้น หากว่าสถาปนิกผู้จัดรายการมิได้แสดงตนว่าเป็นสถาปนิก หรือมิได้มีเนื้อหาคำพูดหรือการกระทำใดๆ ที่เป็นการชี้นำผลิตภัณฑ์ผู้สนับสนุนรายการว่ามีข้อดีอย่างไร หรือควรเลือกใช้งานอย่างไร เพราะเหตุใด ถือได้ว่าไม่ผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ 

          แต่ถ้าหากสถาปนิกหรือผู้ประกอบวิชาชีพในฐานะพิธีกรกล่าวชี้นำถึงวัสดุผลิตภัณฑ์ผู้สนับสนุนในรายการของตน อีกทั้งยังเผยแพร่หรือมีข้อความแสดงว่าตนเองเป็นสถาปนิกหรือผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่บริษัทอื่นใด หรือแม้แต่เป็นอาจารย์อยู่ที่สถาบันการศึกษาซึ่งเป็นที่น่าเชื่อถือกระทำการที่เป็นการโฆษณา  หรือเสนอแนะให้ผู้ฟัง/ ผู้ชมในรายการเห็นว่าวัสดุก่อสร้างที่นำเสนอนั้นเป็นสินค้าที่ดี มีคุณสมบัติเหมาะสม มีคุณภาพดีต่อการใช้งาน ถือว่าเป็นความผิดในจรรยาบรรณอย่างแน่นอน ตามเนื้อหาใน ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสถาปัตยกรรม หมวด 2 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ  ข้อ12  เช่นกัน

       สรุปได้ว่า การวินิจฉัยว่าผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมใดประชาสัมพันธ์สินค้าวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ทางการก่อสร้างหรือไม่นั้น หากมิได้ใช้วิชาชีพของตนเองมาเกี่ยวข้องถือว่าไม่เข้าข่ายผิดจรรยาบรรณ โดยบุคคลดังกล่าวจะถือว่าเป็นพรีเซนเตอร์สินค้าเหมือนกับนักแสดงหรือศิลปินทั่วไป กรณีที่เข้าข่ายความผิดจรรยาบรรณนั้น คณะกรรมการจะพิจารณาจากการกระทำที่บุคคลนั้นใช้คุณสมบัติของตนเอง หรือความรู้ในวิชาชีพชี้นำให้ประชาชนหรือผู้บริโภคคล้อยตามว่าสินค้านี้ดีกว่าอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งเป็นสำคัญ

3. สถาปนิกเป็น Presenter ยาสีฟันผิดจรรยาบรรณหรือไม่?
       หากสสถาปนิกหรือผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมเป็นพรีเซนเตอร์โฆษณาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์อื่นนอกเหนือจากวัสดุก่อสร้าง การกระทำดังกล่าวนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลในเชิงธุรกิจ ซึ่งจัดเป็นข้อตกลงระหว่างกันทางธุรกิจประเภทหนึ่ง ถือได้ว่าขณะนั้นผู้ประกอบวิชาชีพนั้นมิได้ประกอบวิชาชีพในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ และมิได้ใช้คุณสมบัติแห่งวิชาชีพของตนเองรับรองผลิตภัณฑ์หรือนำเสนอต่อผู้รับฟังหรือผู้ชมว่าตนเองเป็นสถาปนิกหรือผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมใด โดยเฉพาะสินค้าที่นำเสนอมิได้เป็นวัสดุหรือสินค้าที่เกี่ยวข้องด้านสถาปัตยกรรม จึงนับได้ว่าการปฏิบัติตนหรือเป็นพรีเซนเตอร์สินค้าดังกล่าวตามข้างต้น ถือได้ว่าไม่เป็นการผิดจรรณยาบรรณแห่งวิชาชีพ

4. สถาปนิกเป็น Presenter กระเบื้องมุงหลังคาผิดจรรยาบรรณหรือไม่?
          การที่สถาปนิกหรือผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมอื่นใดเป็นพรีเซนเตอร์กระเบื้องมุงหลังคาจะผิดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของการปฏิบัติ ถ้าหากผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวไปเป็นพรีเซนเตอร์กระเบื้องมุงหลังคาซึ่งจัดว่าเป็นวัสดุก่อสร้างประเภทหนึ่ง โดยถือสถานภาพอยู่ในฐานะพรีเซนเตอร์หรือนักแสดงมาแนะนำหรือโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า โดยผู้รับฟัง ผู้รับชมทางสื่อต่างๆ ไม่ทราบหรือรับรู้ว่าผู้นั้นเป็นนักวิชาชีพ หรือไม่ได้ใช้สถานภาพทางวิชาชีพมารับรองสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ถือได้ว่าการนำเสนอลักษณะนี้ไม่จัดว่าเป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ แต่หากมีการนำเสนอข้อมูลในลักษณะใดแสดงว่าผู้ที่เป็นพรีเซนเตอร์นั้นเป็นสถาปนิกหรือผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมอย่างชัดเจนหรือไม่ก็ตามแต่ ถือว่ามีการนำคุณสมบัติหรือสถานภาพของผู้ประกอบวิชาชีพมาชี้นำและเอื้อประโยชน์ต่อสินค้าที่เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งเข้าข่ายความผิดจรรยาบรรณวิชาชีพตามข้อความที่ปรากฏในข้อบังคับฯ หมวด 2 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ  ข้อ12  เช่นเดียวกัน 

5. สถาปนิกแนะนำหรือประชาสัมพันธ์หนังสือของตนเองผิดจรรยาบรรณหรือไม่ ?
        การที่สถาปนิกหรือผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมแนะนำหรือโฆษณาหนังสือของตนเอง ถ้าเป็นหนังสือทั่วไป เช่น แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว  แนะนำรายการอาหาร นิยาย เรื่องสั้น หรือเป็นเอกสาร ตำรา และบทความทางวิชาการใดๆ นั้น ไม่ถือว่าเป็นการผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ แต่ถ้าหากหนังสือนั้นเป็นการประชาสัมพันธ์แนะนำผลงานการทำงานของตนหรือบริษัทของตน โดยกล่าวยกย่องโอ้อวดถึงความสามารถของตนเอง คุณภาพของงาน คุณสมบัติการทำงาน ตลอดจนความดีงามของผลงานการออกแบบในหนังสืออย่างเกินความเหมาะสม จัดได้ว่าเป็นหนังสือที่แสดงความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพของตนเพื่อนำเสนอให้สาธารณะหรือบุคคลทั่วไปรับทราบในความสามารถอย่างเกินพอเหมาะพอดีเหล่านี้ ถือเป็นการกระทำที่เข้าข่ายความผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพใน หมวด 2 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ  ข้อ11 ที่ว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่โฆษณา ใช้ จ้างวาน หรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณา ด้วยประการใดๆ ซึ่งการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมของตนเอง เว้นแต่การแสดง ชื่อ ตำแหน่ง คุณวุฒิ สาขาของวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม ที่อยู่ หรือสำนักงานของผู้ประกอบวิชาชีพนั้นเอง”  ดังนั้นการที่สถาปนิกหรือผู้ประกอบวิชาชีพแนะนำหรือประชาสัมพันธ์หนังสือของตนเองจะต้องแยกให้ออกว่าหนังสือดังกล่าวมีเนื้อหาในลักษณะใด และเป็นการแนะนำเพื่อประโยชน์ใด ถ้าหากไม่ขัดกับข้อ 11 ตามที่อธิบายไว้ข้างต้นแล้ว ไม่ถือว่าเป็นความผิดตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสถาปัตยกรรม
 
6. สถาปนิกหรือบริษัทสถาปนิก ประชาสัมพันธ์ผลงานตนเองหรือบริษัทตนเองในสื่อต่างๆ ผิดจรรยาบรรณหรือไม่ ?
       กรณีนี้ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าการประชาสัมพันธ์ผลงานของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมหรือบริษัทของตนเองในสื่อต่างๆ นั้น เป็นไปในลักษณะใด ถ้ามีรูปแบบเพียงการนำเสนอประสบการณ์ ผลงานการออกแบบ และแสดงชื่อของตนเอง/ สำนักงานหรือบริษัท ตลอดจนแจ้งเพียงข้อมูลที่อยู่และสถานที่ติดต่อให้ทราบไว้ในลักษณะการนำเสนอข้อเท็จจริง นับได้ว่าไม่เข้าข่ายความผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ แต่ถือเป็นเพียงการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเพื่อนำเสนอให้รู้จักตนเองหรือบริษัทของตนเท่านั้น
แต่หากว่าสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่นำเสนอมีข้อความอื่นใดที่ชี้นำว่าผู้ประกอบวิชาชีพหรือบริษัทนั้น มีผลงานการออกแบบดีมากน้อยอย่างไร หรือมีเนื้อหาข้อความแสดงความสามารถ ความรู้ ความชำนาญทางวิชาชีพ ตลอดจนมีการแนะนำหรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะโอ้อวดว่าบุคคลหรือบริษัทดังกล่าวมีความสามารถสูงหรือมีประสบการณ์การทำงานดีกว่าผู้อื่นอย่างไรก็ตาม จนอาจทำให้ผู้อ่านหรือผู้ที่ได้พบเห็นเชื่อได้ว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถสูง หรือเอื้อประโยชน์ต่อการว่าจ้างทำงาน ลักษณะเช่นนี้เข้าข่ายความผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพใน หมวด 2 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ  ข้อ11 ที่กล่าวว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่โฆษณา ใช้ หรือจ้างวาน หรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาด้วยประการใดๆ ซึ่งการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมของตนเองเว้นแต่การแสดงชื่อ คุณวุฒิ สาขาของวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม ที่อยู่ หรือสำนักงานของผุ้ประกอบวิชาชีพนั้นเอง”  รวมทั้งยังเข้าข่ายความผิดตามหมวด 4 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมวิชาชีพ ข้อ 22  ที่ว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่โอ้อวดความรู้ความสามารถของตนจนเกินกว่าความเป็นจริงฯ”  อีกด้วย

7. ลูกค้าไม่จ่ายค่าแบบ สถาปนิกไม่ทำงานต่อ จะถูกกล่าวหาว่าละทิ้งงานหรือไม่ ?
       การพิจารณาความผิดจรรยาบรรณหรือไม่อย่างไรตามกรณีนี้ เบื้องต้นจะต้องพิจารณารายละเอียดของสัญญาระหว่างผู้ว่าจ้างกับสถาปนิกหรือผู้ประกอบวิชาชีพอื่นใดในฐานะผู้รับจ้างให้ละเอียดว่า ข้อตกลงหรือสัญญาว่าจ้างระหว่างกันเริ่มต้นเมื่อไร มีงานใดที่อยู่ในขอบเขตบริการบ้าง มีการแจ้งค่าบริการวิชาชีพเป็นจำนวนเท่าไร จะมีการชำระเงินค่าจ้างเมื่อใด อย่างไรบ้าง และมีการกล่าวถึงการปฏิบัติผิดข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายไว้ว่าอย่างไรหรือไม่ ถ้าหากเนื้อหาในข้อตกลงหรือสัญญาระบุไว้ว่า “เมื่อลูกค้าหรือผู้ว่าจ้างผิดสัญญาด้วยการไม่ชำระค่าแบบหลังจากที่ผู้ประกอบวิชาชีพได้ทำงานให้ครบถ้วนตามข้อตกลงหรือสัญญาแต่ละขั้นตอนแล้ว ผู้ประกอบวิชาชีพ (สถาปนิกผู้รับจ้าง) สามารถยกเลิกสัญญาและยุติการให้บริการได้”  ผู้ประกอบวิชาชีพจึงสามารถยุติการทำงานและบอกเลิกสัญญาว่าจ้างได้ โดยการทำหนังสือแจ้งลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษร เพราะตนเองจะไม่มีภาระผูกพันกับงานตามสัญญาอีกต่อไป การกระทำดังกล่าวจึงจะไม่ถือว่าเป็นความผิดทางจรรยาบรรณ 

       แต่หากไม่มีการทำข้อตกลงหรือสัญญาไว้ หรือในข้อตกลงไม่มีการระบุไว้ตามเนื้อหาข้างต้น การหยุดการทำงานของผู้ประกอบวิชาชีพหรือสถาปนิกยังอาจถูกกล่าวหาว่าละทิ้งงานและมีความผิดได้หากไม่มีการตกลงหาข้อยุติกันให้ชัดเจน ดังนั้น เมื่อสถาปนิกหรือผู้ประกอบวิชาชีพละทิ้งงานไปโดยที่ผู้ว่าจ้างยังปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างกันอย่างเป็นปกติ เช่น การชำระค่าบริการตรงตามเงื่อนไขอย่างครบถ้วน หรือกรณีอื่นใดที่ไม่ขัดแย้งต่อข้อตกลงในสัญญา หากบุคคลนั้นละทิ้งงานไปโดยไม่มีเหตุอันสมควรดังนี้ ย่อมถือว่าเป็นการผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพแน่นอนตามที่ปรากฏในข้อบังคับข้างต้นใน หมวด 3 จรรยาบรรณต่อผู้ว่าจ้าง ข้อ15 ที่ว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ละทิ้งงานที่ได้รับทำโดยไม่มีเหตุอันสมควรนอกจากนี้สถาปนิกดังกล่าวสามารถถูกฟ้องร้องเพิ่มเติมทางคดีแพ่งและพาณิชย์ตามความผิดตามสัญญาว่าจ้างทำของได้อีกเช่นกัน

8. สถาปนิกเป็น Sales ขายสีผิดจรรยาบรรณหรือไม่?
       กรณีนี้มีความคล้ายคลึงกับกรณีศึกษา 4 เนื่องจากสถาปนิกหรือผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมดังกล่าวถือว่ามีอาชีพปฏิบัติเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดของผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างใดๆ หรือ Sale Representatives และมิได้ใช้สถานภาพความเป็นสถาปนิกหรือผู้ปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม ไปใช้โฆษณาหรือชักชวนให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าตนเองนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนมิได้ชี้นำข้อมูลใดๆ โดยใช้ความรู้ ความชำนาญของการเป็นสถาปนิก การประกอบอาชีพของบุคคลดังกล่าวถือได้ว่ามิได้ใช้วิชาชีพของตนเองเอื้อต่อการชี้นำข้อมูลแต่อย่างใด 

       แต่หากเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพนักงานของบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์เท่านั้น กรณีนี้จึงไม่ถือว่าเป็นความผิดตามจรรยาบรรณวิชาชีพ เพราะในปัจจุบันนี้ก็มี Sales หรือพนักงานขายผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างซึ่งเป็นสถาปนิกอยู่มากมาย รวมทั้งในสาขาวิชาชีพอื่นๆ ก็มีตัวอย่างเหล่านี้เช่นกัน เช่น เภสัชกรเป็น Sales ขายผลิตภัณฑ์ยาหรือผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ หรือวิศวกรจำนวนมากไปประกอบอาชีพเป็น Sales Representatives ขายอุปกรณ์ทางด้านวิศวกรรมต่างๆ ดังนั้นสรุปได้ว่า "การที่สถาปนิกหรือผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมใดประกอบอาชีพเป็น Sales ขายสีหรือแม้แต่วัสดุผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการก่อสร้างอื่นๆ จึงไม่ถือเป็นความผิดจรรยาบรรณแต่อย่างใด"

9. สถาปนิกคิดค่าแบบสูงกว่าหรือต่ำกว่ามาตรฐานของสมาคมวิชาชีพผิดจรรยาบรรณหรือไม่ ?
        ข้อมูลอัตราค่าบริการวิชาชีพหรือค่าแบบตามมาตรฐานของสมาคมสถาปนิกสยามฯ และสมาคมวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องเช่น สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย ถือว่าเป็นการนำเสนอให้ผู้ว่าจ้างได้รับทราบเป็นข้อมูลเบื้องต้นก่อนการตกลงว่าจ้าง และเพื่อให้สถาปนิกหรือผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมใดๆ ใช้เป็นแนวทางสำหรับการคิดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติวิชาชีพจากผู้ว่าจ้างเท่านั้น ดังนั้นหากว่าบุคคลใดหรือบริษัทใด จะคิดค่าแบบสูงหรือต่ำกว่ามาตรฐานของสมาคมวิชาชีพของตนเองจึงเป็นความพึงพอใจร่วมกันระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพและผู้ว่าจ้าง และเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่พึงกระทำได้โดยไม่ถือว่าเป็นการผิดจรรยาบรรณ เพราะมาตรฐานค่าบริการวิชาชีพที่สมาคมฯ เหล่านั้นกำหนดนั้นไม่ถือเป็นกฎหรือระเบียบที่บังคับให้ต้องปฏิบัติตามแต่อย่างใด
 
        แต่ถ้าหากว่าในกรณีการแข่งขันประกวดราคา หรือกรณีที่บุคคลใดหรือบริษัทใดใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อลดราคาค่าบริการวิชาชีพไม่ว่าจะเป็นไปตามมาตรฐานของสมาคมฯ หรือไม่ก็ตาม โดยเป็นการแข่งขันเพื่อให้มีมูลค่าต่ำกว่าค่าแบบของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของผู้ว่าจ้าง จึงจะเข้าข่ายความผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพตามข้อบังคับฯ  ในหมวด 4 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมวิชาชีพ ข้อ 23 ที่ว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่แสวงหางานด้วยการแข่งขันกับผู้ประกอบวิชาชีพอื่น โดยวิธีประกวดราคา หรือลดผลประโยชน์ สินจ้างหรือบำเหน็จรางวัล”  

        อย่างไรก็ดีการที่ผู้ประกอบวิชาชีพลดราคาลงต่ำกว่ามาตรฐานค่าแบบของสมาคมสถาปนิกสยามฯ หรือสมาคมวิชาชีพของตนเองแล้วอาจมีผลทำให้ผลงานการออกแบบไม่ได้มาตรฐานแห่งวิชาชีพ หรือทำให้ตนเองไม่สามารถทำงานได้เต็มความรับผิดชอบต่อผู้ว่าจ้าง หรือต่อสาธารณะ จะเข้าข่ายความผิดจรรยาบรรณได้อีกเช่นกัน ตามที่ปรากฎในข้อบังคับฯ หมวด 3 จรรยาบรรณต่อผู้ว่าจ้างข้อ 19 ที่ว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่แสวงหาหรือตกลงรับงานโดยรับค่าตอบแทนที่ต่ำกว่าความเหมาะสมตามมาตรฐานวิชาชีพสถาปัตยกรรม จนเป็นเหตุให้ตนไม่สามารถจะให้บริการเต็มความรับผิดชอบที่มีต่อผู้ว่าจ้างของตนและต่อสาธารณะ” 

10. สถาปนิกออกแบบสถานบริการอาบ อบ นวดผิดจรรยาบรรณหรือไม่ ?
กรณีนี้เมื่อพิจารณาตามข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพฯ โดยชัดเจนแล้ว จะถือว่าไม่ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพแต่อย่างใด เพราะตามเนื้อหาในข้อบังคับฯ มิได้ระบุว่าการออกแบบอาคารสถานที่ใดๆ เป็นความผิดจรรยาบรรณ และอีกกรณีหนึ่งคือหากสถาปนิกหรือผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมใดๆ ทำการออกแบบอาคารหรือสถานบริการใดๆ ตามความต้องการของผู้ว่าจ้าง ถึงแม้เจ้าของอาคารจะใช้อาคารเพื่อประกอบกิจการหรือให้บริการในด้านใดก็ดี กลับมีข้อขัดแย้งต่อกฎหมายหรือมีความผิดเกิดขึ้นจากกิจการดังกล่าว ผู้ออกแบบถือว่ามิได้กระทำผิดจรรยาบรรณแต่อย่างใดหากได้ออกแบบอย่างเต็มความรู้ความสามารถ เพราะถือว่าผู้ประกอบวิชาชีพนั้นกระทำการไปตามขอบเขตและหลักการแห่งวิชาชีพอย่างเต็มที่แล้ว แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องแน่ใจว่าอาคารที่ตนออกแบบต้องไม่ขัดแย้งต่อกฎหมายอาคารและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้แล้ว อาคารที่มีรูปแบบการใช้งานผิดต่อศีลธรรมอันดีงาม หรือขัดแย้งต่อกฎหมายบ้านเมือง เช่น สถานขายบริการทางเพศ สถานดำเนินการด้านการพนัน กฎหมายย่อมไม่อนุญาตให้เปิดกิจการเหล่านั้นได้อยู่แล้ว 
 
       อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในแง่คุณธรรม จริยธรรม หรือวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทย การออกแบบอาคารสถานบริการอาบ อบ นวด หรืออาคารสถานบริการอื่นใดอาจไม่เหมาะสมเท่าใดนักโดยเฉพาะในพื้นล่อแหลม เช่น ใกล้กับโรงเรียน สถานศึกษา วัด เป็นต้น การที่ผู้ประกอบวิชาชีพทำการออกแบบอาคารเพื่อใช้สอยตามความต้องการเหล่านี้ อาจถือได้ว่าเป็นการส่งเสริมให้มีการประกอบกิจกรรมผิดคุณธรรมและวัฒนธรรมอันดีงามเนื่องจากสังคมไทยจะมีทัศนคติในเชิงลบกับธุรกิจเหล่านั้น ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของตนเองว่าจะตัดสินใจรับงานออกแบบอาคารในลักษณะนี้หรือไม่ในที่สุด

 

 

Subject 9 : 10 Case study : ethical issues should know. (English Version)

Subject 9
10 Case study : ethical issues should know.
                                                              
 

     During the professional practice of architecture, professional architectural control works may have questions or grievances related to a number of professional practice in such cases it would be unethical or how. Therefore, to guide proper conduct of the profession and reduce the risk of unethical actions. Has collected case studies from the petition or the allegations that the actual is mainly explained by the content of the regulations on the ethics of the Federation of Architects Architectural Act 2545. Used as the main criterion for review and consideration of ethics to refer the offender for education.

     10 This case study are the stories that look familiar, you were close to us and many other examples, it is an approach to fault diagnosis by the professional ethics would be the unexpected. However, I emphasize that these diagnoses are just personal opinions only of those interviewed. (Admiral Aekthanit  Kitti-ampon contributor in his capacity as Vice Chairman of the Federation of Architects Ethics Act 2547-50). Therefore, diagnostic approaches or answers, these can not be used as a reference in a hearing under the regulations in any way. But can be used as a guideline validation error in the initial implementation, and to undertake the paperwork. And any evidence helpful to the defense of their own. Due to the reason that, in a hearing. Until summarize the decision of the committee members in addition to the various environmental factors, including documents and testimony of people who use hearing as well.

10 case studies to know about professional ethics architecture.

1. The architect interviews construction unethical or not?
     The architect or architectural profession or the products of construction materials, interviews with any of products. The contents identify the pros and cons, or recommend the use or promote the products better than other products on the market and the interviewer or the owner of the products that go to the article published in the document, any good books or other media with the product name in it." Whether they receive compensation or other benefits or not. Such actions fall into the wrong accordance with the professional ethics of architecture, in chapter 2 of Article 12 of Professional Ethics that "Practitioners must not use advertising to hire or allow others to take their own. The name of the person or to promote products related to all Architectural, Both are cautioned not to the profession of architecture than they are revealing spread on media advertising in melody knowledge of themselves or others."  Because these cases have led a company of construction materials. Qualifications or status of the architects of ads or endorse the material properties of construction which represents beneficial ownership of the goods by the person concerned did not have any arguments for or against. Therefore understandable that the architects who agree that this happens to publish in the media. This is considered unethical, professional architects, although it certainly is intentional or not.

     However, in the present form of another way to promote widespread and very popular is an interview of the architect or practitioner of architecture Advertorial. The form of interviews, this will avoid concentrations of news direct benefit or any of products so that consumers feel that the ad clearly. But it seems content to focus on the technical papers that provide facts and knowledge related materials or products such as the overall main However, a message or content concluded with examples of materials or show the brand or brands. Such cases, if the interviewer is general knowledge that are beneficial to professional practice or benefit of the public network is not considered a fault code. However, practitioners should be careful not to give interviews to the content or a message directed to the benefit of any product, including the investigation to the original content or Artwork carefully before publication and it is important that the contents should not interview with the brand or any product. Appear, which may be construed as a direct benefit of such products have.

2. Architects, television, radio and television programming to promote the transaction support unethical or not?
     Programming on radio, television and other media. Architect or architectural profession or it would have the right to host or organize items. Therefore, public relations or advertising products or product sponsors would be able to do as host. When architects, public relations or consumer products that are not related to construction materials. Would certainly not be considered unethical. But in the case of a product or material support for the construction. If architects do not show their programming as an architect or does not contain any words or acts that support the direct product of how the list has an advantage that should be available for use or how, Why. Therefore not considered to be unethical profession.

     But if the architect or professional as the host led to the product support materials in their programs. It also published a message or that he is a professional architect or architecture any other company, or even taught at the institution, which is trusted to act on an advertisement or a recommendation to the listeners / viewers in the list that the proposed construction is the best qualified products with good quality to use. Considered an offense in accordance with certain ethical content regulations on the ethics of professional ethics of professional architecture Chapter 2 Article 12 as well.

     Concluded that the diagnosis of professional architecture or control release of goods, construction or materials or products that do not. If you do not use their professional involvement is considered unethical not applicable. The person will be treated as goods as presenters or performers artists online. Case of the network is unethical. Board of Directors will consider the actions that the person using their own property, or knowledge in the profession led to the public or consumers that the products conforming to this one product is better than the other is important.

3. Architects Presenter toothpaste is unethical or not?
     If the architect or the architecture profession as presenters advertising goods or products other than construction materials. Such action is presented in a business context. Which is an agreement between one type of business. We hold that it is not professional career as a professional and do not use the property of their professional certification, or products presented to the recipient that they listen to or watch a professional architect or architecture which. The only product offered is not material or products associated architecture. So that the conduct or presenters products such as the above is not considered to be the wrong drug Bibliography of professional equipment, contingency.

4. Architects Presenter tile roof is unethical or not?
     The architect or any other architecture professionals as presenters roof tiles are missing or not depends on the behavior of the performance. If the professional presenters to roof tiles which is a type of construction materials, holding the status as presenters or performers to introduce products or advertising. The recipient of the media listening audience does not know that perception is a professional or unused status of professional certification of goods or products. Considered that the presentation of this nature is not considered a breach of professional ethics. If presented data in any way show that the presenters are an architect or architectural profession or not, but clearly. Application deemed to have qualifications or professional status of the guide and benefit products as construction materials, which fall into the wrong professional ethics as the text that appears in the rules of professional ethics Chapter 2 Article 12 as well.

5. Architects recommend or promote their own books, unethical or not?
     The architect or professional architectural recommendations or advertising their own books. If the book is generally recommended, such as tourist attractions. Recommended story or novel food item is a document textbook and academic papers do not count on the professional ethics is wrong. But if the book is the introduction of the release of their job or their company. Honored by boasting the ability of the quality of their work as well as features of good design works in the book as more than appropriate. It was a book that shows expertise in their profession to provide the general public or the person acknowledges the ability to support more than decent. These actions constitute offenses that fall into the professional ethics of professional ethics in Chapter 2 Article 11 of that "Practitioners must not use advertising to hire another person or allow advertising. Any reasons. The architectural profession. Expertise in the practice of architecture of the self. Except for showing a position of Architectural Education branch or office is the control of the profession itself." Therefore, the architect or professional recommend or promote their books must be separate from that book that has content in any manner and to suggest any purpose. If not contrary to Article 11, as described above is not considered guilty of professional ethics, professional architecture.

6. Architect or architectural firm promote their work or their own companies in the media. Unethical or not?
     This case must be considered carefully as the public relations work of professional architecture or its own in the media is in any way. If a model works only offer experience, design and display their name / company or office. And inform only the address information and contact them in any way to know the facts presented. Indicates that the fault does not fall on professional ethics. But is only offered to release the information to recognize themselves or their company only.

     But if the advertising media that offers a message that directs any other professionals or companies that have good design work, or how far the message can contain knowledge and professional expertise as well as an introduction or to present information in a manner that the person or company boasting such talent or experience to work better than others, however. And may cause the reader or those who have seen the people who believe that talent or benefit of employment. Looks like this fall into the mistake of professional ethics in  Professional ethics in Chapter 2 of Article 11, said "Practitioners must not promote or hire, or allow others to advertise with any other. The professional architectural expertise in the practice of architecture except for the name of their branch of professional qualifications in architecture or control office professionals that desire to do". Also fall into the wrong dog that express the four professional ethics of co-number 22 said. "Professionals who should not boast of their ability and beyond the fact" as well.

7. Customers do not pay a fee. Architects can not continue to be accused of abandonment or not?
     Considering how unethical or not the case. Introduction to consider the details of the contract between the employer and architects or other professionals as thoroughly as contractors. Agreement or contract between the start when, with any work within the confines of certain services, the billing of professional services is how many. And will be paid wages when, how? And is said to breach the agreement of both parties do not know what or not. If the contents of an agreement or contract, provided that "When a client or employer with breach of contract after failing to pay a professional to work in full agreement or contract for each step. Professionals (Architects, contractors) to cancel the contract and discontinue the service". Professionals can stop work and terminate the contract by a letter to notify customers in writing. Because their work is not obligated under the contract anymore. Doing so will not be held guilty of ethics.

     But if there is no agreement or contract or agreement not described above, according to the content. To stop the work of professionals or architects may also allegedly abandoned and guilty if there is no agreement for each conclusion clearly. So when the architect or professional work abandoned by the employer to comply with an agreement between the parties as a regular payment to meet the conditions fully, or any other event that does not conflict with the agreement. If the person to leave work without reasonable cause, the following shall be considered guilty of professional ethics course, as it appears in the rules above in section 3 of the Employment Code Article 15, said. "Practitioners must not abandon the job gets done without reasonable cause."

     In addition, the architects can be more in civil and commercial litigation as an offense under contract to do the same again.

8. Architects are selling colored Sales unethical or not?
     This case is similar to case study 4 because of professional architects or architecture is considered a professional marketing staff will work with the construction of any products or Sale Representatives. And do not use the status of an architect or professional practice architecture to advertising or soliciting the buyer understands that they are an expert and not suggestive of any information. Using knowledge. Expertise of an architect. Occupation of such person is not considered to be conducive to their professional use of direct data in any way.

     If the duties as employees of their respective owners only. This case is not considered a fault according to professional ethics. Because currently has Sales or sales materials, construction products, which many architects. Sales as well as a pharmacist selling drugs or medical products or engineers are very professional Sales Representatives to sell such equipment engineering. Therefore, we conclude that the architect or architectural profession or occupation is controlled, color, or even supplies sales sell colors or products related to the construction of other Is not considered a fault code in any way.

9. Architects charge a higher or lower than the standard of professional associations or unethical?
     Data rate for professional services or the standard model of ASA. And other related professional associations such as Landscape Architects Association of Thailand Regarded as the employer has presented a preliminary pre-employment agreement and to provide professional architect or architecture as a guideline for any of the charges in the professional practice of the employer only. So if any person or any company will charge a higher or lower than the standard of their professional association is satisfied between professionals and employers and privacy should not be regarded as done by unethical because the standard of professional services at the association are not considered a rule or regulation forced to comply in any way. But if in the case of competitive bidding, or if any person or any company marketing strategies to reduce the costs of professional services that are not in conformity with the association or not. The competition for less than the values of the other involves the decision to use the services of the employer is connected to the offense in accordance with the ethics rules in Article 23, Chapter 4, the Code of Ethics said. "Professionals need to work with non-competitive with other professions by auction, or reduced benefits things or reward."

     Although the professionals down prices below the standard values of the ASA or its own professional association and may result in the design work is not the professional standards or make their own can not work full responsibility for the employer or the public will fall into the wrong code again as well. Accordance with the regulations contained in Article 19, Chapter 3, the Code of Ethics of Conduct against the employer said "Professionals must not seek or accept by receiving compensation under the appropriate professional standards and architectures is why they are unable to provide full service responsibilities towards their employers and the public."

10. Architects design facilities Massage unethical or not?
     This case, based on the regulations on the profession's ethics. The clear will be deemed not guilty of professional ethics, but somehow it's not the content of the regulations states that the design of any place is unethical. And one is, if the architect or any professional architectural designs of any building or facility needs of the employer even though the building is the building owner to operate or provide services in any good, to have any conflict with the law or are guilty arising from such business. The design is considered not act unethically in any way if the design is fully competent. It assumes that practitioners act in accordance with the scope and principles of the profession fully. However, practitioners must ensure that their building design must not conflict with building laws and related regulations. In addition, buildings that have used the wrong form of the moral good or contrary to law, for example, places the country prostitution, gambling site operates. Law will not allow these activities already.

     However, when considered in terms of moral or cultural good of society. Building design services massage parlors or any other service facilities may not be quite appropriate, especially in vulnerable ground as close to the school so that educational measurement professionals to design buildings for living according to these May be regarded as promoting the wrong moral and cultural activities beautiful. Because Thai society has negative attitudes about their business. Therefore, depending on their discretion to decide the design of buildings in this manner or not in the end.

เรื่องที่ 8 : คดีจรรยาบรรณวิชาชีพที่ผู้ปฏิบัติวิชาชีพมักกระทำผิดเสมอ (Thailand Version)

เรื่องที่ 8  
คดีจรรยาบรรณวิชาชีพที่ผู้ปฏิบัติวิชาชีพมักกระทำผิดเสมอ


                                                                        


        จากการประมวลข้อกล่าวหาคดีจรรยาบรรณ จากคณะกรรมการจรรยาบรรณ สภาสถาปนิกในรอบหลายๆ ปีที่ผ่านมาจนปัจจุบัน พบว่าคดีที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุด มักเป็นการกระทำความผิดที่ผู้ประกอบวิชาชีพคือสถาปนิก เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการควบคุมงานก่อสร้างอาคารบ้านเรือน โดยเป็นข้อกล่าวหามักเกิดขึ้นจากเจ้าหน้าที่เขตหรือเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบกระบวนการก่อสร้างให้เป็นไปตามกฎหมายควบคุมอาคาร แจ้งร้องเรียนว่าสถาปนิกในฐานะผู้ควบคุมงานก่อสร้างมิได้ควบคุมงานก่อสร้างอาคารให้เป็นไปตามรูปแบบที่ได้รับอนุญาตเป็นสำคัญ โดยแต่ละสำนวนคดีหรือข้อกล่าวหาจะมีรายละเอียดปลีกย่อยต่างกันไป จึงประมวลรวมข้อความผิดหรือข้อกล่าวหาจากการกระทำผิดของสถาปนิกในการควบคุมงานก่อสร้างที่มาเป็นกรณีศึกษาไว้ 5 ลักษณะดังนี้

1. การลงนามควบคุมงานก่อสร้างโดยไม่ตั้งใจ
        ข้อกล่าวหาตามกรณีนี้เป็นเรื่องราวที่พบเสมอในวงการวิชาชีพสถาปัตยกรรม เริ่มต้นจากการที่สถาปนิกในฐานะผู้ออกแบบได้ดำเนินการออกแบบอาคารจนแล้ว เสร็จ ถูกขอร้องจากผู้ว่าจ้างให้ลงนามในเอกสารขออนุญาตปลูกสร้างอาคารเพื่อควบคุม งานก่อสร้างให้ไปก่อน จนเมื่อประมูลราคาได้ผู้รับเหมาแล้วจะเปลี่ยนแปลงผู้ควบคุมงานให้ภายหลัง เนื่องจากตามข้อกำหนดตามกฎหมายอาคารของทางกรุงเทพมหานครหรือสำนักงานเขตจะระบุว่าในเอกสารประกอบการขออนุญาตปลูกสร้างอาคารต้องมีผู้ควบคุมงานทั้ง สถาปนิกและวิศวกรลงนาม 
       ตามกรณีนี้เป็นความผิดจรรยาบรรณวิชาชีพที่เกิดขึ้นโดยมิได้ตั้งใจหรือไม่ได้ เจตนา แต่เป็นเพราะความประมาท เลินเล่อดังนั้นจึงขอแจ้งเตือนสถาปนิกทุกท่านไว้ว่าเมื่อออกแบบแล้ว หากได้ลงนามควบคุมงานก่อสร้างให้ทางผู้ว่าจ้างไปเป็นการชั่วคราวแล้ว ควรจะตรวจสอบข้อมูลอยู่เสมอว่าอาคารดังกล่าวเริ่มต้นการก่อสร้างหรือไม่ เพื่อตนเองจะได้แจ้งผู้รับเหมาก่อสร้างให้เปลี่ยนแปลงชื่อผู้ควบคุมงานให้ ถูกต้อง หรือเพื่อความแน่ใจหลังจากที่ได้รับใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารแล้ว ให้ท่านทำหนังสือถึงสำนักงานเขตหรือกรุงเทพมหานครเพื่อแจ้งบอกเลิกหรือเพิก ถอนชื่อของท่านจากการคุมงานก่อสร้างทันทีตามแบบฟอร์มของราชการ พร้อมแจ้งเป็นทางการให้เจ้าของโครงการหรือผู้ว่าจ้างดำเนินการจัดหาผู้คุม งานก่อสร้างใหม่เสียให้ถูกต้อง และประเด็นสำคัญคือ ต้องจัดเก็บสำเนาเอกสารเหล่านี้ไว้ให้ครบถ้วนเพื่อการตรวจสอบยืนยันในกรณี ที่มีการร้องเรียนเกิดขึ้นในอนาคต

       เมื่อเป็นเช่นนั้นสถาปนิกคนดังกล่าวได้ลงชื่อให้โดยมิได้ให้ความสนใจติดตามผล จนเมื่อถึงขั้นตอนการก่อสร้างสถาปนิกนั้นกลับมิได้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมกำกับดูแล เพราะมิได้คาดคิดว่าตนเองต้องไปควบคุมงานก่อสร้าง อีกทั้งผู้ว่าจ้างหรือผู้รับเหมาก่อสร้างก็มิได้สนใจเปลี่ยนแปลงผู้ควบคุมงานให้ตามที่แจ้งไว้แต่แรกด้วยเหตุผลใดก็ตาม จากนั้นระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง ผู้รับเหมาก่อสร้างหรือเจ้าของอาคารอาจมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือต่อเติมอาคารจนผิดไปจากแบบขออนุญาตเดิม เมื่อเจ้าพนักงานเขตหรือกรุงเทพมหานครไปตรวจสอบพบจึงทำเรื่องร้องเรียนมาตามหน้าที่และข้อกฎหมาย

       "บทลงโทษของคดีกรณีนี้จะเป็นขั้นลหุโทษ คือว่ากล่าวตักเตือนผู้นั้นมิให้กระทำผิดอีก เพราะเป็นการประมาท เลินเล่อ ไม่มีเจตจำนงในการทำความผิด"

2. การลงนามควบคุมงานก่อสร้างโดยตั้งใจ แต่มิได้ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้อง        
       กรณีนี้จะแตกต่างจากข้อแรกตรงที่ สถาปนิกหรือผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมใด ตั้งใจลงนามควบคุมงานก่อสร้างและตกลงสัญญารับค่าจ้างเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้างจริงให้กับผู้ว่าจ้าง หรือผู้รับเหมาก่อสร้าง แต่ตนเองมิได้ทำหน้าที่ควบคุมงานให้ถูกต้องตามมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพที่ดี หรือมิได้เข้าตรวจสอบกำกับดูแลการก่อสร้างแต่อย่างใดเลย โดยรับแต่เพียงค่าจ้างเพียงอย่างเดียว ตามกรณีนี้นอกจากสถาปนิกจะถูกร้องเรียนจากผู้ว่าจ้างว่ามิได้ปฏิบัติหน้าที่ดวยความตั้งใจและเต็มความสามารถตามมาตรฐานอย่างถูกตองแล้ว นอกจากนี้หากอาคารดังกล่าวมีการก่อสร้างผิดแบบโดยที่ตนเองมิได้รับรู้  เนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมดูแลอย่างถูกต้อง ยังสามารถถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐกล่าวหาว่าปฏิบัติงานควบคุมการก่อสร้างอย่างไม่ถูกต้องตามแบบและข้อกฎหมายได้อีกด้วย

        "กรณีนี้ถือว่าสถาปนิกดังกล่าวกระทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพฐานมิได้ปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบของตน ซึ่งถือว่ามีระดับโทษรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นบทลงโทษจะเป็นขั้นภาคทัณฑ์หรือพักใช้ใบอนุญาตชั่วคราวมากหรือน้อย ตามเจตนาแห่งการกระทำความผิด"

3. การควบคุมงานก่อสร้างอาคารที่ผิดแบบแต่มีการแจ้งเตือนแล้ว
       กรณีนี้เกิดจากสถาปนิกได้รับตกลงว่าจ้างจากเจ้าของหรือผู้รับเหมาก่อสร้างให้ควบคุมงานก่อสร้างตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพและข้อกฎหมาย ระหว่างการก่อสร้างสถาปนิกดังกล่าวได้รับทราบว่าผู้รับเหมาก่อสร้าง หรือเจ้าของอาคารได้แก้ไขต่อเติมหรือเปลี่ยนแปลงแบบให้ผิดไปจากเดิมที่ได้รับใบอนุญาตไว้ ซึ่งมีผลทำให้อาคารไม่ถูกต้องตามกฎหมายควบคุมอาคาร จึงทำหนังสือแจ้งเจ้าของอาคารและผู้รับเหมาก่อสร้างให้ปรับแก้ไขการต่อเติมให้ถูกต้องตามแบบ รวมทั้งแจ้งต่อราชการคือสำนักงานเขตหรือกรุงเทพมหานครไว้เป็นหลักฐาน แต่เจ้าของหรือผู้รับเหมาก่อสร้างยังเพิกเฉยไม่ดำเนินการตามคำขอ ต่อจากนั้นสถาปนิกดังกล่าวจึงได้จัดทำหนังสือแจ้งต่อราชการว่าขอถอนชื่อจากการควบคุมงานก่อสร้างตามสาเหตุดังกล่าวแล้ว ต่อมาเกิดข้อร้องเรียนจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขึ้น และคณะกรรมการจรรยาบรรณได้ตรวจสอบหลักฐานพบว่าสถาปนิกผู้ถูกกล่าวหานั้นได้ดำเนินการแจ้งเตือนและแจ้งถอนชื่อของตนอย่างถูกต้องตามขั้นตอนแล้ว 

       "กรณีคำร้องตามกรณีดังกล่าวนี้ คณะกรรมการจะพิจารณาวินิจฉัยยกข้อกล่าวหาหรือยกฟ้อง โดยถือว่าสถาปนิกผู้ถูกกล่าวหานั้นไม่มีความผิดแต่อย่างใด"

4. การควบคุมงานก่อสร้างอาคารที่ผิดแบบหรือข้อกฎหมาย และลงนามแก้ไขงานที่มิได้กระทำ
       กรณีนี้เกิดขึ้นจากสถาปนิกนั้นลงนามเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้างอาคารใดด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์คล้ายคลึงกับกรณีที่ 1 หรือด้วยความตั้งใจโดยมีค่าตอบแทนตามกรณีที่ 2 โดยมิได้กำกับดูแลควบคุมงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ดี และเป็นไปตามข้อกฎหมายอย่างถูกต้องด้วยสาเหตุใดก็ตาม  ภายหลังระหว่างการก่อสร้างหรือเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้ตรวจสอบพบว่าอาคารมีการต่อเติมผิดไปจากแบบและข้อกฎหมาย สถาปนิกคนดังกล่าวจึงแจ้งให้ทางเจ้าของหรือผู้ว่าจ้างทราบว่าได้กระทำผิดไปจากแบบเดิม ต่อมาเจ้าของอาคารนำแบบไปจ้างวานสถาปนิกอื่นทำการแก้ไขแทน  และต่อมาผู้ว่าจ้างได้นำแบบชุดที่ 2 ซึ่งดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกฎหมายแล้วมาเสนอให้สถาปนิกคนดังกล่าวลงนามโดยตนเองมิได้เป็นผู้ออกแบบเอง กรณีนี้เมื่อสอบสวนพิจารณาแล้วจะมีบทลงโทษ    ความผิดแยกเป็น 2 ประเด็นคือ
1)   ละทิ้งงานที่ทำโดยไม่มีเหตุอันควร
2)   ลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมในงานที่ตนไม่ได้รับทำหรือตรวจสอบ ควบคุมด้วยตนเอง

       "กรณีศึกษาตามคดีความผิดนี้ มีบทลงโทษอย่างต่ำที่สุดคือภาคทัณฑ์สถาปนิกคนดังกล่าวไว้เป็นเวลา 2 ปี"

5. การรับจ้างลงนามในแบบอาคารหรืองานที่ตนเองมิได้กระทำ
       กรณีสุดท้ายแม้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการควบคุมงานก่อสร้าง แต่เป็นการกระทำความผิดจรรยาบรรณวิชาชีพของสถาปนิกที่มักเกิดขึ้นเสมอในแวดวงวิชาชีพจึงรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการศึกษา กรณีความผิดนี้คือ การที่สถาปนิกลงนามรับรองในแบบอาคารที่ตนเองมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งการออกแบบ และการควบคุมงานก่อสร้าง ไม่ว่าจะได้รับผลตอบแทนหรือไม่ก็ตาม การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายความผิดจรรยาบรรณวิชาชีพที่ว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพในงานที่ตนไม่ได้รับทําตรวจสอบ หรือควบคุมด้วยตนเอง และนอกจากนี้การกระทำความผิดดังกล่าวนี้ของสถาปนิกยังอาจเข้าข่ายการกระทําอันอาจนํามาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพได้อีกด้วย เนื่องจากเป็นการกระทำที่เห็นแก่ผลตอบแทนเป็นอามิสสินจ้างมากกว่าความถูกต้องในหลักการปฏิบัติวิชาชีพ

"บทลงโทษตามกรณีนี้ถือว่าจัดอยู่ในระดับโทษรุนแรง คณะกรรมการจรรยาบรรณจึงสามารถวินิจฉัยลงโทษได้ในระดับขั้นพักใช้ใบอนุญาตเป็นการชั่วคราวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปโดยมีระยะเวลาขึ้นกับผลและเจตนาแห่งการกระทำความผิด"

        ทั้งนี้จากข้อมูลการพิจารณาคดีจรรยาบรรณของคณะกรรมการจรรยาบรรณ วาระปัจจุบัน (50-53) พบว่า นอกเหนือจากข้อร้องเรียนการกระทำผิดที่พบบ่อยดังกล่าวข้างต้นแล้ว ในปัจจุบันผู้ประกอบวิชาชีพโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาปนิกยังมีโอกาสถูกร้องเรียนหรือได้รับคำกล่าวหาจากการปฏิบัติวิชาชีพตามขอบเขตการให้บริการจากตัวลูกค้าหรือผู้ว่าจ้างอีกหลายลักษณะ อันเป็นผลมาจากการทำงาน การให้บริการของตัวสถาปนิกเอง ความรู้ของลูกค้าและสังคมสาธารณะที่เพิ่มมากขึ้น ไปจนถึงความไม่เข้าใจรูปแบบ วิธีการ ความรับผิดชอบและขอบเขตการให้บริการที่แท้จริงของสถาปนิกเองก็ตาม ทั้งนี้ความจริงแล้วความบกพร่องดังกล่าวมิใช่ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของสถาปนิกแต่อย่างใด ในปัจจุบันข้อร้องเรียนการกระทำความผิดจรรยาบรรณของสถาปนิกที่พบเพิ่มมากขึ้นมีประเด็นดังต่อไปนี้ 

1)   การออกแบบและก่อสร้างอาคารไม่ถูกต้องตามกฎหมายอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2)   การก่อสร้างอาคารไม่ตรงกับแบบที่ได้รับใบอนุญาต
3)   การใช้วัสดุประกอบอาคารไม่สอดคล้องกับข้อมูลที่กำหนดไว้ในรายการประกอบแบบ
4)   การออกแบบอาคารเกินกว่างบประมาณที่ตั้งไว้
5)   การก่อสร้างไม่เป็นไปตามมาตรฐานทางการก่อสร้าง
6)   การควบคุมงานก่อสร้างที่ไม่เรียบร้อยและประณีตตามความต้องการของลูกค้า
7)   ฯลฯ
 
       ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบวิชาชีพทั้งหลายควรให้ความสำคัญและใส่ใจกับเอกสารข้อตกลงว่าจ้างการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นว่าตนเองต้องปฏิบัติงานและส่งมอบงานในลักษณะใดให้ลูกค้าบ้าง ไปจนถึงการออกแบบอาคารให้เป็นไปตามข้อกฎหมาย การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาชีพ การควบคุมงานก่อสร้างให้เป็นไปตามหลักวิชา ตลอดจนการประสานทำความเข้าใจระหว่างตนเอง ผู้ว่าจ้างและผู้รับเหมาก่อสร้างให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยอีกด้วย เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดจรรยาบรรณวิชาชีพของตนเองต่อไป


(หมายเหตุ : แนวทางการวินิจฉัยและบทลงโทษตามกรณีศึกษาข้างต้นเป็นความเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์คือ พลเรือเอกฐนิธ กิตติอำพน ขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นรองประธานคณะกรรมการจรรยาบรรณ ในช่วงปี 2547-50 และประมวลจากผลการวินิจฉัยชี้ขาดจากคดีจรรยาบรรณลักษณะเดียวกันในอดีตที่ผ่านมา)