24/07/2010 : วันแรกของการเดินทาง กรุงเทพฯ-อุทัยธานี-ลำปาง
เริ่มต้นวันแรกของการเดินทาง ตื่นนอนตอนเช้าแล้วแบกสัมพาระออกมายังที่คณะ ตอนเจ็ดโมงครึ่ง เมื่อเพื่อนๆ และคณะอาจารย์มากันครบแล้ว ก็ได้ฤกษ์ออกเดินทางตอนเวลาประมาณแปดโมงครึ่ง เป้าหมายแรกที่เราต้องไปกันก็คือ จังหวัดอุทัยธานี
สิ่งแรกที่ได้เห็นเมื่อมาถึงก็คือ ทุ่งนาอันแสนเขียวขจี ซึ่งตัดกับสีของท้องฟ้าที่สวยงาม รวมไปถึงกระท่อมน้อยปลายนา ให้บรรยากาศที่ที่เป็นธรรมชาติ และสดชื่นเป็นอย่างยิ่ง
หลังจากนั้นเราก็ได้เดินทางเข้ามาในตัวเมือง ซึ่งบรรยากาศไม่ต่างจากชานเมืองทั่วๆ ไป คือ วิถีชุมชน ความเรียบง่าย และความสงบ สังเกตุได้จากความไม่พลุกพล่านของผู้คน แล้วเราก็ได้แยกย้ายกันไปรับประทานอาหารกลางวัน ซึ่งมีหลากหลายความอร่อยให้เลือกทาน
หลังจากรับประทานอาหารกลางวันเรียบร้อยแล้ว อาจารย์จิ๋วก็ได้พามายังชุมชนริมแม่น้ำสะแกกรัง ซึ่งยังคงวิถีชีวิตริมน้ำไว้ได้มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งยังคงหลงเหลือร่องรอยวัฒนธรรมทางน้ำดั้งเดิมอยู่ สมัยก่อนมีการทำกระชังเลี้ยงปลา เป็นการหาเลี้ยงชีพด้วยวิถีอดีต แต่ในปัจจุบันการเลี้ยงปลาในกระชังบริเวณนี้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากหันไปทำอาชีพอื่นๆ ที่ได้เงินมากกว่า แต่วิถีชีวิตริมน้ำยังคงอยู่เป็นปกติจนถึงปัจจุบัน ตัวบ้านบางหลังยังคงไว้ด้วยวัสดุธรรมชาติแบบดั้งเดิม เช่น ไม้ไผ่ ร่วมกับไม้จริงในบางส่วน และบางหลังแสดงให้เห็นถึงการพัฒนา นำวัสดุสมัยใหม่มาใช้ร่วมกับวัสดุเดิม เช่น สังกะสี กระจก เหล็ก เป็นต้น
ทางเข้าจากบนบกสู่ตัวแพลอยน้ำไปยังบ้านในน้ำ |
บางหลังใช้วิธีการพาดไม้แล้วเดินเข้าสู่ตัวบ้านในน้ำโดยตรง แต่บางหลังใช้ระบบรอกเชือก และแพไม้ไผ่เข้ามาช่วย โดยการชักรอกเมื่อต้องการเข้า-ออกจากบ้านไปยังบนบก หรืบางหลังอาจใช้เรือด้วยก็มี
ต่อมา เราได้เิดินทางมายังชุมชนริมน้ำอีกหนึ่งแห่งของจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีบรรยากาศคล้ายคลึงกับบริเวณริมแม่น้ำสะแกกรัง ซึ่งมีความน่าสนใจในการพื้นที่ และการใช้วิถีชีิวตร่วมกับน้ำได้อย่างเป็นมิตรซึ่งกันและกัน
บริเวณทางเดินเข้าสู่ตัวอาคารในน้ำ ซึ่งเชื่อมต่อแต่ละพื้นที่โดยการใช้ไม้กระดานพาดผ่าน |
ห้องน้ำไม้เก่า และห้องน้ำใหม่สำเร็จรูป |
การเชื่อมต่อระหว่างแพหนึ่งไปยังอีกแพหนึ่ง มีการผูกเชือกเพื่อไม่ให้ลอยไปกับสายน้ำ |
ลวดลายการประดับตกแต่งอาคารในส่วนเชิงชาย และจันทันตัวนอก |
ความเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ใช้งานภายนอกและพื้นที่ภายในบ้าน |
พื้นที่ส่วนนี้เป็นแพของทางวัดฝั่งตรงช้าม ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อต้องการให้มีความเชื่อมโยงกับตัวบ้าน เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน หรืองานศพ
ใช้ทุ่นเหล็กรองด้านล่างเพื่อให้ลอยน้ำ |
วิถีชีวิตริมน้ำ ที่ยังคงใช้เรือเป็นพาหนะในการเดินทางอยู่จนถึงปัจจุบัน |
หลังจากได้ศึกษารูปแบบอาคาร และวิถีชีวติชุมชนริมน้ำทั้งสองแห่งแล้ว จากนั้นเราก็ได้เดินทางต่อไปยังจังหวัดลำปาง เพื่อพักผ่อน และเตรียมความพร้อมสำหรับการเดินทางในวันพรุ่งนี้ต่อไป
สำหรับวันนี้....."พักยกที่ 1"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น