วันนี้เราเดินทางมายังสถานที่แห่งหนึ่ง ที่มีชื่อว่า ชุมชนบ้านทุ่งครุ
บ้านชาวบ้าน ในชุมชนบ้านทุ่งครุ มีรูปลักษณะที่ดูแล้วไม่แตกต่างจากบ้านชาวบ้านทั่วๆไป แต่แฝงไปด้วยหลายๆสิ่งที่นักคิด หรือสถาปนิกอย่างเราและท่านทั้งหลายอาจไม่เคยนึกถึงมาก่อน เป็นภูมิปัญญาในการใช้ชีวิตและการอยู่อาศัย กับสิ่งที่เรียกว่า "บ้าน" ที่อาจดูแล้วไม่สวยเลิศเลอเหมือนอย่างบ้านคอนกรีตในเมืองปัจจุบัน แต่ลึกๆแล้วซ่อนความน่าสนใจไว้ได้อย่างน่าพิศวงเลยทีเดียว
บ้านของชาวบ้าน มีการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน การลดทอนระดับฝ้า ชายคา มีการใช้หลังคาทรงจั่วเพื่อให้ง่ายต่อการระบายของน้ำฝน และน้ำไม่ขังอยู่บนหลังคา มีการทิ้งชายคาเพื่อกันแดดกันฝนไม่ให้สาดเข้าไปในบ้าน มีการปรับปรุงพื้นที่ให้เข้ากับพื้นที่ใช้งานจริง โดยปรับพื้นที่ให้ยืดหยุ่น สำหรับการใช้งานได้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น ทานอาหาร นั่งเล่น หรือแม้กระทั่งนอนในพื้นที่เดียวกัน สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้อย่างเหมาะสม กับตัวเจ้าของบ้านซึ่งก็คือ ผู้ใช้งานเอง ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้ใช้อย่างแท้จริง
 |
การลดระดับฝ้าและการยื่นชายคาเพื่อป้องกันแดดและน้ำฝน |
 |
ท่านอาจารย์วิวัฒน์(จิ๋ว) ได้ให้คำอธิบายในรายละเอียดของการจัดการพื้นที่และการใช้วัสดุ |
 |
การแบ่งสรรปันส่วน และจัดการกับพื้นที่ใช้งานที่มีอยู่ได้อย่างเหมาะสมกับผู้ใช้งานเอง |
 |
การทำช่องระบายอากาศหรือช่องเปิดได้เหมาะสมกับสภาพอากาศและที่ตั้ง รวมถึงการทำทางเชื่อมสะพานข้ามน้ำที่ใช้วัสดุง่ายๆ โดยใช้ไม้ไผ่ |
|
|
|
 |
มีการใช้วัสดุสังเคราะห์มาประยุกต์ใช้กับอาคารธรรมชาติ คือ สายยางซึงต่อมาจากรางน้ำสังกะสีภายในบ้าน และระบายลงสู่แหล่งน้ำต่อไป |
 |
การใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่อย่างราวจับกันตกในการตากผ้า เป็นการใช้พื้นที่และวัสดุที่มีอย่างยืดหยุ่นและเหมาะสม |
 |
มีการใช้พื้นที่หลังคาในการตากปลาแดดเดียว เป็นการใช้พื้นที่ และประโยชน์จากธรรมชาติอย่างแสงแดดได้อย่างเหมาะสม |
 |
การใช้วัสดุธรรมชาติที่มี และหาได้ในท้องถิ่นในการทำผนังและหลังคา |
ที่ต่อไปที่เราได้ไปศึกษารูปแบบอาคารต่อ ก็คือ โรงเรียนรุ่งอรุณ ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนซึ่งมีวัตถุประสงค์ไม่แสวงหากำไร และได้รับการรับรอง จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนในปี พ.ศ.2540 โดยมีการแบ่งการทำงานเป็น 3 ส่วนย่อยคือ โรงเรียนระดับอนุบาล1-3 โรงเรียนระดับประถม 1-6 และโรงเรียนระดับมัธยม 1-6
ที่นี่มีการจัดบรรยากาศห้องเรียนเหมือนบ้าน ความสัมพันธ์ของครู - นักเรียนใกล้ชิด โดยสอนทั้งชีวิตและวิชา ความสัมพันธ์ของบ้าน (ผู้ปกครอง) และ โรงเรียน เกื้อกูลและเรียนรู้ร่วมกัน
โรงเรียนรุ่งอรุณมีการบริหารงานโดยคณะกรรมการโรงเรียนซึ่งมี ท่านเจ้าคุณพระธรรม-ปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นที่ปรึกษาสูงสุด ซึ่งท่านเป็นผู้มี ความลึกซึ้งในพุทธศาสนา มีผลงานทางวิชาการและหนังสือด้านพุทธศาสนาเป็น จำนวนมาก โดยเฉพาะในเรื่องของความสัมพันธ์ ของชีวิตกับความเป็นอยู่ ในปัจจุบัน และมี ศ.นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธานคณะกรรมการมูลนิธิโรงเรียน ซึ่งท่านเป็นบุคคลที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในสังคมไทย และเป็นผู้ที่ทำงานเพื่อกระตุ้นและผลักดัน การปฏิรูปการศึกษาไทยเสมอมา
มีเป้าหมายให้นักเรียนเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยรวมของ โรงเรียนจึงเน้นความเป็นธรรมชาติเป็นพื้นฐานเพื่อกระตุ้นให้ นักเรียนในแต่ละวัยใช้เป็นห้องเรียนธรรมชาติ เพื่อบูรณาการการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
โรงเรียนรุ่งอรุณตั้งอยู่บนพื้นที่สีเขียวประมาณ 50 ไร่ในเขตบางขุนเทียน ซึ่งเช่าจากมูลนิธิญมาลุดดีน เป็นพื้นที่เปิดโล่งมี อาคารเรียน 2 ชั้น หรือ 3 ชั้น บริเวณโดยรอบแวดล้อมด้วยธรรมชาติที่นักเรียนสามารถออกไปเรียนรู้ได้ มีการออกแบบอาคาร และสภาพแวดล้อมเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งภาย ในและภายนอกห้องเรียน และการนำนักเรียนออกนอกสถานที่ เพื่อการเรียนรู้และสัมผัสของจริง
ต่อมา ท่านอาจารย์จิ๋วก็ได้พามาศึกษา อาคารเรียนทรงไทย ภายในโรงเรียนรุ่งอรุณ ซึ่งมีการนำศาลาทรงไทย และเรือนไทย มาใช้งานในการรองรับแขก เป็นการใช้พื้นที่ที่มีความต่อเนื่องกันระหว่างพื้นที่ในอาคาร และชานรวม มีการใช้วัสดุดั้งเดิมตามธรรมชาติ เช่น จาก หญ้าคา แฝก หรือไม้ไผ่ เป็นต้น ร่วมกับวัสดุสมัยใหม่ เช่น เหล็ก ไม้ กระเบื้อง รางน้ำสังกะสี และคอนกรีต เป็นต้น โดยนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน และทำให้เกิดบรรยากาศที่ร่มรื่น จัดพื้นที่ให้มีความสอดคล้องกับการใช้งานร่วมกับอาคารเดิม ให้ความรู้สึกถึงความเป็นท้องถิ่นที่สามารถอยู่ร่วมกับท้องถิ่น หรือชุมชนได้
 |
เดินทางมาถึงทางเข้าด้านหน้าโรงเรียน |
 |
ป้ายบอกทางไปยังส่วนต่างๆ ของโรงเรียน |
 |
ร้านค้าและโรงอาหาร สามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ได้ตามความเหมาะสม |
 |
ท่านอาจารย์จิ๋ว ได้ทำการถ่ายรูปเพื่อศึกษารูปแบบพื้นที่อาคาร และธรรมชาติ |
 |
อาจารย์จิ๋วได้อธิบายถึงการเชือ่มโยงพื้นที่ใช้งานภายใน ที่มีความต่อเนื่องกับส่วนชานภายนอก รวมทั้งการใช้วัสดุต่างๆ ในการออกแบบอาคารเรียน |
|
|
 |
ตัวอาคารเรือนไทยที่สอดประสานร่วมกับธรรมชาติได้อย่างลงตัว |
 |
การใช้วัสดุอย่าง รางน้ำสังกะสี คอนกรีต หรือกระจก ร่วมกับวัสดุธรรมชาติได้อย่างลงตัว |
 |
พื้นที่ใช้งานภายในสามารถเปิด-ปิด เชื่อมต่อกับชานภายนอกได้ และให้บรรยากาศที่ร่มรื่นอีกด้วย |
 |
พื้นที่ศาลาที่สามารถเชื่อมต่อกับชานรวมได้อย่างลงตัว และสอดคล้องกับการใช้งานจริง |
 |
ราวจับกันตก มีการออกแบบให้มีลักษณะเปิดโล่ง เพื่อให้สามารถระบายอากาศได้ |
 |
บรรยากาศอาคารที่สอดประสารรวมกับธรรมชาติ |
 |
ทางเดินที่ดูเหมือนราวกับเดินหายเข้าไปในป่า |
 |
ตัวอาคาร มีการใช้โครงสร้างที่ผสมผสานกัน ระหว่างคอนกรีตเสริมเหล็ก และไม้ |
 |
อาคารบางส่วน ยังคงใช้ไม้เป็นวัสดุหลักของอาคารอยู่ในปัจจุบัน |
 |
การลดระดับ ก็ถือเป็นการแบ่งพื้นที่การใช้งานได้เช่นกัน โดยที่อาคาร และลานภายนอกยังสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างลงตัว |
 |
มุมศิลปะ และการเรียนรู้ของเด็กๆ สามารถใช้งานเป็นมุมจัดผลงานของนักเรียนได้ในพื้นที่เดียวกัน |
สุดท้าย เราเดินเท้ามายัง สถาบันอาศรมศิลป์ ซึ่งเป็นสถาบันการเรียนรู้ระดับปริญญาโท และมีสำนักงานเป้นของตนเองอีกด้วย ลักษณะของอาคาร เป็นกลุ่มอาคารเรียงต่อกันในลักษณะโค้ง เชื่อมต่อระหว่างอาคารด้วยทางเดินเชื่อมที่ชั้นสอง เป็นอาคารสองชั้น บางส่วนยกใต้ถุนลอย บางส่วนปรับพื้นที่ให้สามารถใช้ประโยชน์อื่นๆได้ เช่น ห้องน้ำ ส่วนเตรียมอาหารว่าง และส่วนทำความสะอาด เป็นต้น พื้นที่ชั้นสองเป็นส่วนของพื้นที่เรียนรู้ รวมถึงส่วนของสำนักงาน และห้องประชุมอีกด้วย
วัสดุที่ใช้ในโครงสร้าง ได้แก่ เหล็ก คอนกรีต อิฐ กระจก ซึ่งเป็นวัสดุสมัยใหม่ ร่วมกับวัสดุธรรมชาติอย่าง ไม้ไผ่ ไม้ หญ้าคา หรือจาก ให้มีมิติ ความสวยงาม กลมกลืนกับธรรมชาติโดยรอบได้อย่างลงตัว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น