วันที่สองของ Intro Trip สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ในวันนี้ได้เดินทางมาศึกษาที่ บ้านอาจารย์ทรงชัย วรรณกุล ซึ่งถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพชนสะสมกันมา การมาในครั้งนี้ ได้ทำให้เห็นมุมมองหลายๆอย่าง ความเป็นไทยในพื้นที่ ทั้งในส่วนของตัวบ้านเรือน อาคารทรงไทย การใช้ลานดินโล่งกลางแจ้ง ที่ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย ได้เรียนรู้เรื่องทิศทางแดด กระแสลม ร่วมกับต้นไม้พืชพันธุ์มีความร่มรื่น รวมถึงการขุดคูคลองรอบบ้านเพื่อให้ความชุ่มชื้น กันไฟ กันโจรผู้ร้าย เพื่อความอุดมสมบูรณ์ และสามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้อีกด้วย
 |
ป้ายชื่อหน้าบ้าน ท่านอาจารย์ทรงชัย เขียนด้วยภาษาไทยวน |
มีการประดับตกแต่งด้วยรั้วไม้ไผ่สานขัดกันห่างๆ เพื่อความเป็นส่วนตัว แต่ก็ยังสามารถมองทะลุสอดส่องออกมายังภายนอกได้เช่นกัน และประตููทางเข้าบ้านที่กั้นพื้นที่ได้ และยังสามารถมองทะลุผ่านได้ด้วยเช่นกัน
 |
อาจารย์ทรงชัย ได้อธิบายความเป็นมาของบ้านหลังนี้ รวมถึงการใช้พื้นที่ในแบบไทยที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างลงตัว |
มีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ลานดินโล่ง ร่วมกับต้นไม้และธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน เป็นการใช้พื้นที่รวมพลโดยอาศัยร่มเงาของต้นไม้ที่ช่วยบดบังแสงแดด และให้ความเย็นร่มรื่นไปด้วยในคราวเดียวกัน
บรรยากาศรอบๆตัวบ้าน และทางขึ้นบ้านแบบไทย
 |
การประยุกต์โครงสร้างอาคารโดยการใช้พื้นคอนกรีตในส่วนห้องน้ำชั้นบน ร่วมกับท่อน้ำพีวีซีในการระบายสิ่งสกปรก ร่วมกับอาคารทรงไทย ถือเป็นการประยุกต์ให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับการใช้งานจริงของเจ้าของบ้านในปัจจุบัน |
|
 |
มีการใช้ทางเดินไม้ และการขุดคูคลองเข้ามายังตัวบ้านและรอบๆบ้าน เพื่อป้องกันไฟไหม้และป้องกันโจรขโมยได้อีกด้วย |
|
ตัวบ้านที่สอดประสานเข้าร่วมกับบรรยากาศธรรมชาติของสระน้ำ และต้นไม้ต่างๆ ได้อย่างกลมกลืน
นอกเหนือจากการอนุรักษ์อาคารเก่าแล้ว ยังมีส่วนเก็บสะสมวัตถุ อาวุธ และเครื่องใช้สมัยโบราณไว้อีกด้วย
รูปแบบโครงสร้างที่มีความคล้ายคลึงกัน แต่ต่างกันที่วัสดุ คือหญ้าคา และหลังคากระเบื้อง ที่สามารถประยุกต์ใช้ร่วมกันในกลุ่มตัวอาคารเดียวกันได้อย่างลงตัว
การทำประตูกั้นทางเดินเชื่อมระหว่างอาคาร เพื่อความเป็นส่วนตัว โดยมีบรรยากาศที่ร่มรื่นจากร่มเงาของต้นไม้ในการบังแดด
ไทยวน หมายถึง คนไทยเมืองเหนือ หรือไทยล้านนา ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทยมาเป็นระยะเวลาช้านาน ในอดีตคนล้านนามีคำเรียกแทนตนเองที่หลากหลาย ได้แก่ ยวน ไต หรือไท เพื่อแยกตัวออกจากชาวใต้ หรือชาวสยาม ซึ่งต่อมา ชาวไทยวนทางภาคเหนือ บางส่วนได้อพยพมาอยู่ที่จังหวัดสระบุรี และได้นำอักษรไทยวนนี้ขึ้นมาใช้และบันทึกลงในสมุดต่างๆ และได้มีการคัดลอกต่อๆกันมา
นอกจากการนำตัวอักษรและภาษาไทยวนมาใช้แล้ว ยังมีการนำรูปแบบศิลปวัฒนธรรมของไทยวน หรือล้านนามาใช้จนถึงปัจจุบันอีกด้วย
ในด้านสถาปัตยกรรม มีการนำอาคารทรงไทยมาประยุกต์ และใช้งานในพื้นที่ที่เป็นทางลาดชันอีกด้วย ซึ่งทำให้เกิดการเชื่อมต่อกันของพื้นที่ต่างระดับ เกิดมิติที่แตกต่าง และยังมีการเชื่อมพื้นที่ลงมายังลานดินโล่งด้านล่าง ต่อเนื่องไปถึงบ้านแพซึ่งลอยอยู่ในน้ำอีกด้วย ทำให้เกิดพื้นที่ที่น่าสนใจ นับได้ว่าเป็นกลุ่มอาคารตัวอย่างอีกแห่งหนึ่ง ที่มีความน่าสนใจทั้งในด้านของพื้นที่ใช้งาน และความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ที่สอดประสานกันได้อย่างลงตัว

ป้ายหน้าทางเข้าส่วนของ ศูนย์ศึกษาศิลปวัฒนธรรมไทย ,หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน และพิพิธภัณฑ์เรือลุ่มน้ำป่าสัก
 |
ซุ้มทางเข้าด้านหน้า ตกแต่งได้อย่างสวยงามเื่พื่อต้อนรับแขกผู้มาเยี่ยมชม |
 |
พื้นที่ใต้ถุนอาคาร ที่มีส่วนของผนังโปร่งกั้นนอกจากจะเป็นผนังแล้ว ยังเป็นส่วนจัดแสดงอาวุธ และอุปกรณ์โบราณได้อีกด้วย |
 |
มุมมองที่มุ่งตรงไปยังส่วนของทางเดิน เพื่อลงไปยังพื้นที่ลานด้านล่าง |
บรรยากาศของพื้นที่ลานดินโล่งต่อเนื่องกับชานไม้ที่ยกระดับ และเวทีด้านหน้าของตัวอาคาร ทั้งสามส่วนนี้สามารถปรับพื้นที่ใช้งานได้ตามความเหมาะสม เนื่องในโอกาสต่างๆ
 |
เวทีการแสดงที่เชื่อมต่อกับพื้นที่ด้านบนโดยใช้บันได |
จุดเชื่อมต่อทางลดระดับจากตัวอาคารด้านบนลงสู่ตัวอาคารด้านล่าง
 |
ทางเดินที่เป็นเส้นตรง มุ่งจากทางขึ้นแพไปยังบันไดขึ้นสู่ตัวอาคารด้านบน |
 |
บ้านแพลอยน้ำและทางเชื่อมต่อขึ้นไปยังบนบก |
ผนังขัดแตะ ,หน้าต่างบานกระทุ้ง และบานเปิดคู่ ทำจากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ ซึ่งมีน้ำหนักเบา
 |
พิพิธภัณฑ์เรือลุ่มน้ำป่าสัก |
 |
เรือลุ่มน้ำป่าสัก ซึ่งเป็นเรือโบราณ มาขนาดยาวมาก โดยที่ทั้งลำเรือทำจากไม้ต้นเดียว
ต่อมาเราได้เดินทางมายังตลาดน้ำโบราณ อำเภอเสาไห้ จังหวัสระบุรี ซึ่งเป็นตลาดน้ำที่มีวิถีชีวิตของชุมชนอยู่เช่นในอดีต ซึ่งบรรยากาศอาจดูเงียบเหงาไปบ้าง แต่ก็ยังคงแสดงออกได้ถึงรูปแบบอาคาร วิถีชีวิต และความเป็นอยู่ดั้งเดิมได้อย่างดี |
ผนังลูกกรงเหล็กตีเปิดโล่ง เพื่อระบายอากาศ ทางเข้ามีบันไดขึ้นสู่พื้นด้านในของศาลเจ้า และเิดมุมมองด้านหน้าประตูออกสู่ตัวแม่น้ำ ซึ่งเป็นมุมมองที่สวยงาม
 |
มีการประยุกต์ใช้วัสดุสมัยใหม่อย่างสังกะสี มาใช้ในการทำหลังคา และรางรองรับน้ำฝน ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าหลังคา และรางน้ำแบบเดิมๆ |
ก็จบลงอย่างสมบูรณ์สำหรับการเดินทางในครั้งนี้ สิ่งที่ได้รับนอกเหนือจากความรู้ที่ได้จากการศึกษาศิลปวัฒนธรรมแล้ว ยังสามารถสัมผัสได้ถึงการใช้ชีวิตของกลุ่มคนในท้องที่ วิถีที่มีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน อย่างชาญฉลาด และความสามารถในการประยุกต์ใช้สิ่งรอบตัวที่มีอยู่ ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุด ทั้งในด้านของการดำรงชีพ และการออกแบบพื้นที่ส่วนต่างๆ ของที่อยู่อาศัยให้สัมพันธ์กับการใช้งานจริงอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น